email-icon [email protected]
phone-icon + 66.(0)2.995 7470–1
logo

Cleanroom

  • Home
  • /
  • 10 สาเหตุรอยรั่ว HEPA Filter ที่ควรรู้ เพื่อป้องกันปัญหาในห้องคลีนรูม

10 สาเหตุรอยรั่ว HEPA Filter ที่ควรรู้ เพื่อป้องกันปัญหาในห้องคลีนรูม

10 สาเหตุรอยรั่ว HEPA Filter ที่ควรรู้ เพื่อป้องกันปัญหาในห้องคลีนรูม

แผ่นกรองอากาศ HEPA Filter คือ สิ่งที่ใช้กรองฝุ่นละอองและอนุภาคต่างๆ จากภายนอกไม่ให้เข้าสู่คลีนรูม หรือเป็นการกรองสิ่งที่อยู่ในคลีนรูมไม่ให้ออกสู่ภายนอก เช่น ห้องผ่าตัด เป็นต้น โดย HEPA ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญในระบบ HVAC System ที่จะช่วยจำกัดปริมาณอนุภาคในห้องคลีนรูม และต้องได้รับการติดตั้งและตรวจสอบประสิทธิภาพสม่ำเสมอ

วันนี้ Cleanroom by VOV International จะพาทุกคนไปค้นหา 10 สาเหตุรอยรั่วแผ่นกรอง HEPA Filter เพื่อการป้องกันหรือแก้ไขได้อย่างทันท่วงทีก่อนจะเกิดปัญหาใน Cleanroom

รอยรั่วที่พบใน HEPA Filter มาจากหลายสาเหตุ ดังนี้

1) แผงกรองคุณภาพต่ำ

ส่วนใหญ่เป็นแผงกรองที่ได้มาตรฐานมาจากบริษัทของผู้ผลิต แต่เกิดปัญหาในการขนส่งที่อาจก่อให้เกิดแรงสั่นสะเทือนหรือเกิดฉีกขาดทำให้เกิดรอยรั่วขึ้น

2) รอยรั่วที่เกิดจากการใช้โฟมทำปะเก็น (Gasket)

ปะเก็น คือ ชิ้นส่วนหนึ่งของวัสดุใดๆ ที่มีส่วนช่วยในการกันรั่ว เช่น กันของเหลว ก๊าซ ฝุ่นละอองต่างๆ โดยการใช้โฟมทำปะเก็นนั้นไม่เป็นที่แนะนำเพราะโฟมมีประสิทธิภาพในการกันรั่วได้น้อยมาก ดังนั้น ควรใช้วัสดุคุณภาพในการทำปะเก็นจะดีที่สุด

3) รอยรั่วที่มุมของแผ่นกรอง

เป็นรอยรั่วที่เกิดกับแผ่นกรองโดยตรง ซึ่งพบบ่อยในโต๊ะทำงานในห้องคลีนรูม (Clean Bench) โดยเกิดจากการขนย้าย และจะสังเกตไม่เห็นด้วยตาเปล่า

4) รอยรั่วที่เกิดจากการกระแทกของ Separator 

รอยรั่วที่เกิดจากการกระแทกของ Separator ระหว่างขนส่ง ทำให้มุมถูกดันเข้าไปในแผ่นกรอง HEPA เกิดเป็นรอยรั่วขนาดเล็ก หรืออีกกรณีที่ Separator ถูกกระแทกอย่างแรง จะทำให้เกิดรอยรั่วขนาดใหญ่จนสามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า เกิดจากการที่ Separator ถูกกระแทกอย่างแรงและดันตัวเข้าแผ่นกรอง โดยส่วนใหญ่จะเกิดในขั้นตอนการติดตั้งจากผู้ติดตั้งที่ไม่ระมัดระวังหรือไม่มีประสบการณ์มากพอ

5) รอยรั่วที่เกิดจากแรงกระแทกอย่างแรงในการขนย้ายแผ่นกรอง HEPA Filter

ในระหว่างขนย้ายแผ่นกรอง เป็นขั้นตอนที่สำคัญไม่แพ้ขั้นตอนการผลิตเลย เนื่องจากการขนย้ายที่ไม่ระมัดระวังและทำแผ่นกรองหล่นลงมากระแทกกับพื้นจนอาจก่อให้เกิดรอยแตกในแผ่นกรองได้ แต่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า ต้องอาศัยวิธีการ Photometer หรือ Automatic Particle Counter ด้วยผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบจึงจะหารอยรั่วได้

6) แผ่นกรองยึดติดกับโครงไม่ดี หรือวัสดุที่ใช้ทำโครงไม่ดี

การใช้สารยึดติดไม่ถูกวิธีทำให้การยึดติดระหว่างโครงและแผ่นกรอง HEPA ไม่ดี และเกิดช่องโหว่ได้ นอกจากนี้ หากวัสดุที่ใช้ทำโครงไม่แข็งแรงอาจทำให้เกิดการบิดตัวได้หากมีการติดตั้งแผ่นกรองกับโครงที่มีขนาดไม่เหมาะสมกัน และอาจทำให้เกิดรอยรั่วในตัวโครงได้ที่บิดเบี้ยวนั้นได้

7) รอยรั่วที่เกิดจากรอยแทะของแมลง

ความชื้น อาจนำพาแมลงต่างๆ เช่น แมลงสาบหรือมด โดยแมลงเหล่านั้นอาจจะวางไข่ในแผ่นกรองหรือกัดกินเส้นใยในแผ่นกรองจนเกิดรอยรั่วของ HEPA Filter ได้

8) การตกท้องช้าง (Sagging) ของแผ่นกรองและ Separator

การเก็บหรือวางแผ่นกรองให้ Separator อยู่ในแนวนอน (แนวระดับ) จะทำให้เกิดการหย่อนตัวของ Separator และแผ่นกรองอากาศ HEPA Filter และเกิดเป็นรอยรั่วตรงบริเวณที่ยึดโครงและแผ่นกรองเข้าด้วยกัน ดังนั้นตอนขนย้ายหรือเก็บแผ่นกรองควรวางให้รอยพับของ Filter อยู่ในแนวตั้ง (แนวดิ่ง) 

9) รอยรั่วที่เกิดจากแรงสั่นของแผงกรอง

เกิดจากการที่อากาศเคลื่อนที่ผ่านแผ่นกรองทำให้เส้นใยภายในเกิดการสั่น เมื่อใช้งานไปได้ระยะหนึ่งจะเกิดการแยกตัวของเส้นใยจนเกิดเป็นรอยรั่วในที่สุด ดังนั้น ควรต้องตรวจสอบรอยรั่วอยู่เสมอ และหมั่นเปลี่ยนแผ่นกรองตามระยะการใช้งานที่กำหนด

10) รอยรั่วที่เกิดจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้ปฏิบัติงานภายใน Cleanroom

ในกรณีนี้อาจทำให้เกิด Separator โค้งงอ และเมื่อพยายามดัดให้กลับมาตรงดังเดิมจะก่อให้เกิดรอยรั่วด้านหลังของแผ่นกรอง HEPA Filter หรืออาจทำให้เกิดการกระแทกหรือแรงดันที่จะทำให้แผ่นกรองเกิดรอยรั่วได้

 

แผ่นกรอง HEPA Filter มีการติดตั้งและการตรวจสอบรอยรั่วที่ละเอียดอ่อน ในบางครั้งไม่อาจสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า และต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญหรือวิธีการที่เฉพาะตัวในการค้นหาข้อบกพร่อง ดังนั้น ควรกระทำโดยผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์และได้รับมาตรฐานสากลเพื่อการใช้ห้องคลีนรูมอย่างเต็มประสิทธิภาพ

 

“ VOV International Co., Ltd ผู้เชี่ยวชาญ รับเหมา ติดตั้ง และตรวจสอบคลีนรูมที่ได้การรับรองจาก #NEBB ให้คำปรึกษา และช่วยดูแลการทำห้องคลีนรูมทุกรูปแบบ”
Reference :

คู่มือการออกแบบห้องสะอาด (Cleanroom Design Manual) โดย ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.วริทธิ์ อึ๊งภากรณ์