email-icon [email protected]
phone-icon + 66.(0)2.995 7470–1
logo

Cleanroom

  • Home
  • /
  • 6 เคล็ดลับการออกแบบห้องคลีนรูมอุตสาหกรรม (ICR) ที่ผู้ประกอบการต้องใส่ใจ

6 เคล็ดลับการออกแบบห้องคลีนรูมอุตสาหกรรม (ICR) ที่ผู้ประกอบการต้องใส่ใจ

6 เคล็ดลับการออกแบบห้องคลีนรูมอุตสาหกรรม (ICR) ที่ผู้ประกอบการต้องใส่ใจ

การออกแบบห้องคลีนรูมอุตสาหกรรม หรือที่เรียกว่า Industrial Cleanroom (ICR) เช่น ห้องคลีนรูมสำหรับท่าอากาศยาน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ไมโครชิป semiconductor ไปจนถึง อุตสาหกรรมน้ำมันสกัดจากกัญชา (CBD : Cannabidiol) ล้วนถือเป็นการลงทุนที่ต้องใช้ความระมัดระวังและอาศัยความชำนาญเป็นพิเศษในการออกแบบและติดตั้ง เพื่อประสิทธิภาพในการใช้งาน รวมไปถึงความปลอดภัย นอกจากนี้ห้องคลีนรูมยังจำเป็นมากๆ สำหรับอุตสาหกรรมเหล่านี้อีกด้วย โดยสามารถอ่านบทความ 5 สถานที่ต้องใช้คลีนรูมได้ที่นี่!

วันนี้ Cleanroom by VOV International จึงจะพาทุกคนไปเข้าใจวิธีการสร้างคลีนรูมอุตสาหกรรมที่ผู้ประกอบการควรต้องใส่ใจเป็นพิเศษ

สิ่งที่ต้องคำนึงในขั้นแรกของการออกแบบห้องคลีนรูมอุตสาหกรรมมี 6 ข้อ ดังนี้

industrial-cleanroom, คลีนรูม, คลีนรูมอุตสาหกรรม, ออกแบบคลีนรูมindustrial-cleanroom, คลีนรูม, คลีนรูมอุตสาหกรรม, ออกแบบคลีนรูม

1) ออกแบบระดับความสะอาดให้พอดีกับความต้องการ ไม่ต้องสะอาดเกินความจำเป็น

เราไม่ต้องสร้างห้องคลีนรูมที่มีความสะอาดระดับสูงสุดในทุกๆ อุตสาหกรรม โดยการออกแบบคลีนรูมอุตสาหกรรมที่ดีนั้นต้องพอดีกับ Spec ของห้องคลีนรูมว่าต้องการความสะอาดที่ Class เท่าไหร่ เพื่อลดค่าใช้จ่าย และลดการดูแลรักษาที่เกินความจำเป็น 

โดยสามารถทำความเข้าใจการแบ่งเกณฑ์ความสะอาดของคลีนรูม (Cleanroom Classification) ได้ที่นี่ คลิก! 

 

2) ออกแบบให้มีความยืดหยุ่นในการผลิต เพื่อจัดวางระบบที่อาจสร้างขึ้นใหม่ในอนาคต

อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ มีความก้าวหน้าและพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว การออกแบบห้องและระบบห้องคลีนรูมอุตสาหกรรมให้มีความยืดหยุ่นในการจัดวางสิ่งใหม่ๆ ได้ง่าย เช่น เครื่องมือ ผนัง แผงกรองอากาศ จะช่วยลดค่าใช้จ่าย เพื่อที่จะไม่ต้องขยายห้องคลีนรูมใหม่ทั้งหมดหากมีบางสิ่งบางอย่างเพิ่มเข้ามา 

นอกจากนี้ระบบต่างๆ ที่สำคัญ เช่น พื้นยก (Raised Floor) ระบบระบายอากาศ HVAV System รวมไปถึงการให้ความสำคัญกับแผ่นกรอง HEPA Filter ยังถือว่าเป็นการออกแบบที่ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจ รวมไปถึงสามารถ Customized ให้เหมาะกับการใช้งานได้ด้วยผู้เชี่ยวชาญ ทั้งนี้ ต้องมีการทดสอบระบบคลีนรูมเป็นประจำเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดและได้มาตรฐานสากลในการดำเนินกิจการระดับนานาชาติอีกด้วย

 

3) จัดวางอุปกรณ์ให้เหมาะสม ใช้ห้องกั้นเฉพาะสำหรับอุปกรณ์ที่ต้องการความสะอาดสูง

เมื่อมีการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ในห้องคลีนรูมอุตสาหกรรม จำเป็นที่จะต้องมีช่องทางดำเนินการที่ควบคุมความสะอาดมากที่สุด การทำให้มีบริเวณจำกัดเฉพาะในการใช้อุปกรณ์นั้นๆ จะช่วยลดค่าใช้จ่ายได้ เนื่องจากพื้นที่บริเวณปฏิบัติงานด้วยอุปกรณ์เหล่านี้จะอาศัยค่าความสะอาดที่ลดลงมาเมื่อเทียบกับค่าความสะอาดที่ต้องใช้ในช่องทางการขนย้าย

 

4) ตรวจสอบเครื่องมือของกระบวนการผลิตเสมอ

เครื่องมือในกระบวนการผลิตต้องมีความสะอาดมาก และได้รับการทดสอบเพื่อดูสิ่งปนเปื้อนคงค้างอยู่ก่อนนำเข้ามาภายในห้องคลีนรูมอุตสาหกรรม โดยต้องขอใบรับประกันจากผู้ขายว่ามีการปนเปื้อนของสิ่งที่ถูกปล่อยออกมาจากเครื่องมือเป็นปริมาณเท่าไหร่ เพื่อการออกแบบห้องคลีนรูมที่เหมาะสม และประหยัดค่าใช้จ่ายลงได้

หรือในการทดสอบประสิทธิภาพห้องคลีนรูม สามารใช้ Third Party เช่น องค์กร หรือบริษัทต่างๆ ที่รับทดสอบคลีนรูม โดยเป็นองค์กรที่ได้รับมาตรฐานสากล NEBB ที่เชื่อถือได้ในคุณภาพ และมาตรฐาน โดย VOV International เป็นบริษัทในการทดสอบคลีนรูมที่ได้รับมาตรฐาน NEBB เจ้าแรกๆ ในประเทศไทย

 

5) ออกแบบให้ปราศจากการรบกวนจากแรงสั่นสะเทือนและคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

แรงสั่นสะเทือนและคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามีผลต่อการผลิตในอุตสาหกรรมบางอย่าง โดยเริ่มต้นจากการเลือกสถานที่ก่อสร้างคลีนรูมอุตสาหกรรมให้เหมาะสม ด้วยการปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญก่อนจะตัดสินใจสร้างห้องคลีนรูม

 

6) ควบคุมความสะอาด และมีวิธีดูแลรักษาความสะอาดที่ครอบคลุม

การทำความสะอาดในห้องคลีนรูมอุตสาหกรรมต้องการแบบแผนและวิธีการที่รัดกุม การละเลยรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ อาจส่งผลเสียต่ออุปกรณ์ภายในห้องคลีนรูมอย่างมหาศาล นอกจากนี้ยังต้องควบคุมความสะอาดและวิธีรักษาความสะอาดในระหว่างก่อสร้างห้องคลีนรูมอุตสาหกรรม เพื่อป้องกันฝุ่นตกค้างอยู่ในโครงสร้างที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายได้

การออกแบบห้องคลีนรูมยังมีรายละเอียดอีกมากมายที่ต้องศึกษาทำความเข้าใจ หากใครสนใจจะออกแบบ สร้าง และตรวจสอบห้องคลีนรูม ก็ควรจะใช้บริการผู้ที่มีความชำนาญและเชื่อถือได้ เพื่อให้การลงทุนในครั้งนี้คุ้มค่ามากที่สุด

Reference :

หนังสือ คู่มือการออกแบบห้องสะอาด (CLEANROOMS DESIGN MANUAL) โดย ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.วริทธิ์ อึ๊งภากรณ์